สามเณรปิโลติกะ อดีตเด็กขอทาน
ในสมัยพุทธกาลมีเด็กขอทานคนหนึ่งชื่อว่า ปิโลติกะ นุ่งผ้าเก่าๆขาดวิ่น ถือชามกระเบื้องเดินขอทานอยู่ไปมา พระอานนท์เห็นเข้าจึงเกิดความเมตตาชวนให้เด็กขอทานได้บวชในพระพุทธศาสนา สามเณรจึงได้บวชกับพระอานนท์นับแต่บัดนั้น
สามเณรนิโครธ ผู้จุดให้พระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ประมาณ ๓๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งนามว่า สามเณรนิโครธ อายุเพียง ๗ ขวบ ได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์สามเณรน้อยมีผิวพรรณผ่องใสและเป็นผู้ที่ฝึกตนเป็นอย่างดีจึงมีบุคลิกที่สงบเสงี่ยมสง่างามน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทำให้พระราชาคือ พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในทันทีที่เห็นสามเณรเดินผ่าน
จุนทะสามเณร ผู้มีส่วนริเริ่มสังคายนา
จุนทะเป็นน้องชาย ๑ใน ๗ ของพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกบวชเป็นสามเณรในสำนักพระสารีบุตร ผู้เป็นพี่ชายโดยมีพระอานนท์เป็นพระอุปัชณาย์ (พระผู้บวชให้) เมื่อบวชแล้วก็บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ตอนอายุ ๗ ขวบพร้อมคุณวิเศษ มักอาสาแสดงปาฏิหาริย์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กุมารกัสสปสามเณร ผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
กุมารกัสสปะ เป็นชื่อที่พระเจ้าปเสนทิโกศลที่ทรงรับอุปการะเลี้ยงดูตั้งให้ เพราะมารดาของท่านได้มีศรัทธาออกบวชหลังจากแต่งงานแล้ว และไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์(ท้อง) ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดสินเรื่องนี้ว่าไม่ผิดศีลเพราะได้ตั้งครรภ์ก่อนบวช
พระโปฐิลเถระ
การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า การศึกษาคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในอัตภาพ เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจความเพียรพยายามแล้ว บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ
จุดเริ่มต้นบุญที่ยิ่งใหญ่การบวชนั้นได้อานิสงส์มาก
การบวชนั้นมีอานิสงส์มาก ใครได้อุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาเลื่อมใสจะได้อานิสงส์ 64 กัป บิดามารดาได้ 32 กัป ผู้ได้บรรพชาบุตรของตนหรือผู้อื่นก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ
โกหกแบบไหนถึงจะไม่ผิด
หลายคนอาจเคยคิดว่า ถ้าพูดความจริงแล้วจะทำให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าพูดโกหกแล้วจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แบบนี้จะผิดหรือไม่ และการพูดความจริงแต่พูดไม่หมดนั้นบาปหรือไม่ โกหกแบบไหนถึงจะไม่ผิด
กรรมเก่าเฝ้าติดตาม
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจในภายหลัง มีปีติและโสมนัส เสวยวิบากของกรรมใด กรรมนั้นแลที่บุคคลทำแล้วเป็นความดี
อานิสงส์ถวายข้าวมธุปายาส
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งหลาย ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งหลายในโลก ด้วยการให้ ฉันนั้น
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ความสัตย์ขจัดอันตราย
โยมพ่อโยมแม่ของสามเณร เห็นพวกโจรกำลังเตรียมมีดเตรียมหลาวต่อหน้าต่อตา ทั้งหวาดกลัวต่อมรณภัย ทั้งโกรธเคืองตัดพ้อสามเณรที่ไม่ยอมบอก ว่า ในป่ามีโจรคอยดักทำร้าย ปล่อยให้พ่อแม่มาหาที่ตายแท้ๆ สงสัยสามเณรคงเป็นพวกเดียวกับโจร ๕๐๐ เหล่านี้เป็นแน่ พวกโจรได้ยินเสียงพร่ำบ่นของคนทั้งสอง จึงรู้ว่าสามเณรเป็นคนรักษาคำพูด แม้เป็นโยมพ่อโยมแม่ก็ไม่ยอมบอก เพราะกลัวจะเสียสัจจะที่ให้ไว้กับโจร
มงคลที่ ๙ มีวินัย - อานิสงส์แห่งศีล
พระปัญจสีลสมาทานิยเถระ เกิดเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี แต่ท่านเป็นคนมีปัญญา สามารถสอนตนเองได้และรู้ถึงโทษภัยในสังสารวัฏ จึงปรารถนาอยากบวช แต่ก็ยังหาโอกาสไม่ได้ จึงคิดว่า เพราะเราเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิตไปวันหนึ่งๆ ไทยธรรมของเราที่จะมาทำทานก็ไม่มี จึงไม่สามารถให้ทานได้ อย่างไรก็ตาม ในภพชาตินี้อย่างน้อยเราก็ยังสามารถรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ได้
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ชีวิตที่ลิขิตได้ด้วยบุญ
ปกติของคนตระหนี่จะไม่ชอบให้ ทาน เพราะเขากลัวความจน กลัวว่าทรัพย์ที่ให้ไปจะสูญเปล่า แต่ผู้รู้กลับบอกว่า ยิ่งให้จะยิ่งได้ เพราะการทำความดีใดๆ ที่จะไม่ส่งผลนั้น เป็นไม่มี หากเริ่มดำรงตนอยู่ในสถานะของผู้ให้ ใจของเราจะสูงขึ้น เป็นอิสระจากความตระหนี่ และจะขยายออกไปอย่างไม่มีประมาณ เมื่อถึงขีดถึงคราวที่บุญส่งผลจะได้รับเกินควรเกินคาดทีเดียว แม้ตัวเรายังรู้สึกอัศจรรย์ในตัวเอง